Startup สำคัญคือ แนวคิดสดใหม่ สร้างสรรค์ สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภค และผสานนวัตกรรมที่สามารถพลิกวิถีชีวิตคนให้ดีขึ้น หรือสะดวกสบายขึ้น
Startup จึงเป็นมากกว่าธุรกิจที่เติมเต็มความต้องการของลูกค้า แต่ต้องให้คุณค่าแก่ลูกค้าด้วยนวัตกรรมโมเดลธุรกิจที่สามารถพลิกผันรูปแบบธุรกิจเดิมได้ด้วย ถ้าอยากเข้าใจ Startup แบบง่าย ๆ ลองมาทำความรู้จักผ่านหนังเรื่อง App War แอปชนแอป กัน Go!
ขอขอบคุณภาพจาก TMoment ด้วยนะคะ
ป.ล. ไหนๆ #AppWar ก็ออกโรงไปละ งั้นขอสปอยล์ต่อ ไม่รอละนะ
อ้างอิง:
https://thumbsup.in.th/2012/09/lean-startup/
https://www.thairath.co.th/content/1004555

Startup จะขาดไอเดียที่แตกต่างและสร้างสรรค์ไม่ได้ โดยไอเดียนี้จะต้องแก้ Pain point ได้ตรงจุด เติมเต็มช่องว่างตลาด ตอบโจทย์ได้ตรงใจลูกค้า เริ่มต้นดีแบบนี้ มีชัยไปกว่าครึ่ง
อย่างบอมกับจูนที่เกิดไอเดียอยากทำแอปที่พาคนที่ชอบอะไรเหมือนกัน มารู้จักกัน ศึกษากัน เข้าใจกัน แม้ว่าสุดท้ายบอมจะเปลี่ยนไปทำแอปหาคู่ที่เราพบได้ทั่ว ๆ ไป แต่จุดขายที่แตกต่างของไอเดียนี้คือ ความสัมพันธ์เริ่มต้นจากการมีความสนใจร่วมกันแล้วมาทำกิจกรรมด้วยกัน จนเกิดเป็นคอมมูนิตี้สำหรับคนที่มองหาความสัมพันธ์สุดโรแมนติกรูปแบบใหม่ ซึ่งโดนใจหนุ่มสาวโสดได้ไม่ยาก
2. ฟอร์มทีมแล้วลุย!
Startup เริ่มต้นจากทีมอย่างน้อย 3 คน 3 สายอาชีพ ร่วมกันบ่มเพาะ Startup อย่างมีทิศทาง
โดยมีบอม Developer ที่สร้างและพัฒนาแอปพลิเคชัน Inviter ขึ้นมา หลังจากที่ได้ Insight จากจูนที่เกริ่นเรื่องการทำแอปแบบ Non-romantic จึงเป็นผู้เสนอไอเดียนี้กับทีม และพัฒนาแอปให้ใช้ง่าย ไม่ค้าง ฟีเจอร์เด่น
ในขณะที่บิ๊ว ผู้ดูกลยุทธ์ หรือวางแผนธุรกิจ จะวางแผนการตลาดทำให้แอปเป็นที่รู้จัก มี User เยอะ ๆ ซึ่งคิดเห็นขัดแย้งกับบอม เพราะมองว่าแอปแบบ Non-romantic ไม่แมสพอให้แอปแจ้งเกิดได้ ภายหลังจึงเปลี่ยนคอนเซ็ปต์แอปให้เข้าถึงคนได้มากขึ้นจนถึงฝั่งฝันในที่สุด นอกจากนี้ บิ๊วยังทำ Focus Group (สนทนากลุ่ม) เก็บข้อมูลเชิงลึกว่า User ชอบ/ไม่ชอบแอปตรงไหนเพื่อให้ Developer กับ Designer พัฒนาต่อถูก
คนสุดท้ายที่ขาดไม่ได้ในการทำแอปคือ Designer หรือไต๋ ที่ออกแบบ UI / UX ให้แจ่ม ๆ มีรูปแบบไม่ซับซ้อน กลุ่มเป้าหมายเห็นแล้วต้องว้าว ใช้แล้วต้องโดนใจ


3. พัฒนาสู่ตลาด
จากไอเดีย พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ หรือแอปพลิเคชัน ในรูปแบบ Lean Startup แนวคิดลดทอนขั้นตอนที่ไม่จำเป็นออก เหลือแต่คุณค่าให้ผู้ใช้งานแอปแบบเน้นๆ มีอยู่ 3 ขั้น เริ่มที่ Build แต่ไม่จบที่ Learn เพราะต้องวนลูปนี้เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันให้ตอบโจทย์ความต้องการผู้ใช้มากขึ้น
1. Build สร้าง Prototype (ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ) เน้นเร็ว ง่าย ประหยัดต้นทุนไว้ก่อน สร้างจุดแข็งด้วยการใช้นวัตกรรมหรือเทคโนโลยี แล้วค่อยส่งให้กลุ่มเป้าหมายลองใช้ เพื่อทดสอบว่าแอปจะปังได้มั้ย
2. Measure วัดผลว่าคนชอบ ไม่ชอบ เป็นไปตามตัวชี้วัดที่กำหนดมั้ย
3. Learn เรียนรู้จากผลที่วิเคราะห์ได้ แล้วพัฒนาต่อไป จนผลิตภัณฑ์เริ่มติดตลาด
ทีนี้ก็ถึงเวลาทำการตลาดโดยการลงโฆษณาทางเฟซบุ๊ก ทำ SEO ออกบูธตามอีเวนต์ เพิ่มจำนวน User เกิดการใช้ซ้ำยิ่งดี แต่ถ้าแอปที่โหลดมามันค้าง ใครจะเก็บไว้ให้เปลืองเมม กลับกัน ถ้าแอปโดนใจใช่เลย คนก็อยากซื้อบริการเสริม เริ่มแนะนำคนอื่นแบบปากต่อปาก หรือผ่านทางโซเชียล ก็เกิด viral ได้ไม่ยาก
4. ออกล่าหาทุน
ธุรกิจไม่สะดุด ไอเดียได้ไปต่อ ถ้าเรามีเงิน จะใช้ทุนตัวเอง (Bootstrapping) ร่วมโครงการบ่มเพาะ (Incubator) หรือ โครงการเร่งการเติบโต (Accelerator) ระดมทุนจากสาธารณะ (Crowdfunding) ได้รับการสนับสนุนจากนักลงทุนอิสระ (Angel investors) หรือลงเวทีแข่งขันเสนอผลงาน (Pitching) เพื่อชิงทุนจากนักลงทุนขององค์กร (Corporate Venture Capital) เหมือนที่ Inviter กับ Amjoin ล่าทุนจากแทนไท นายทุนสุดฮ็อตในเรื่อง App War


เป้าหมายของเหล่า Startup รวมทั้ง Inviter และ Amjoin ก็คือการได้เป็นยูนิคอร์น ซึ่งไม่ใช่สัตว์ในตำนานปรัมปรา แต่หมายถึงสตาร์ทอัพที่มีมูลค่าบริษัทมากกว่า 1 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ถึงตอนนี้สตาร์ทอัพไทยเรายังไม่ถึงระดับนั้น แต่ก็น่าจับตามองเอาใจช่วยให้ก้าวสู่ยูนิคอร์นได้สำเร็จ
6. Start ให้ Up ชื่อนี้…มีที่มา
การจะไปถึงยูนิคอร์นต้องเริ่มจากการ Start ให้ Up เริ่มแล้วต้องเดินหน้าต่ออย่างแน่วแน่ ซึ่งเพจ Start ให้ Up จะมาเติมเต็มแรงบันดาลใจให้สตาร์ทอัพไทยเดินเกมธุรกิจจนสามารถแจ้งเกิด ต่อยอด และยั่งยืนได้สำเร็จ เพราะเราอยากเห็นสตาร์ทอัพไทยไปไกลถึงยูนิคอร์น

รู้ที่มาที่ไปของคำว่า Startup กันแล้ว ก็ตามไปดูกันต่อเลยดีกว่าว่า รูปแบบของ Startup ที่เขาว่าดีและมั่นคงอย่าง Lean Startup เป็นอย่างไร? > https://starthaiup.com/start-your-team-up/lean-startup/

Startup จะขาดไอเดียที่แตกต่างและสร้างสรรค์ไม่ได้ โดยไอเดียนี้จะต้องแก้ Pain point ได้ตรงจุด เติมเต็มช่องว่างตลาด ตอบโจทย์ได้ตรงใจลูกค้า เริ่มต้นดีแบบนี้ มีชัยไปกว่าครึ่ง
อย่างบอมกับจูนที่เกิดไอเดียอยากทำแอปที่พาคนที่ชอบอะไรเหมือนกัน มารู้จักกัน ศึกษากัน เข้าใจกัน แม้ว่าสุดท้ายบอมจะเปลี่ยนไปทำแอปหาคู่ที่เราพบได้ทั่ว ๆ ไป แต่จุดขายที่แตกต่างของไอเดียนี้คือ ความสัมพันธ์เริ่มต้นจากการมีความสนใจร่วมกันแล้วมาทำกิจกรรมด้วยกัน จนเกิดเป็นคอมมูนิตี้สำหรับคนที่มองหาความสัมพันธ์สุดโรแมนติกรูปแบบใหม่ ซึ่งโดนใจหนุ่มสาวโสดได้ไม่ยาก

2. ฟอร์มทีมแล้วลุย!
Startup เริ่มต้นจากทีมอย่างน้อย 3 คน 3 สายอาชีพ ร่วมกันบ่มเพาะ Startup อย่างมีทิศทาง
โดยมีบอม Developer ที่สร้างและพัฒนาแอปพลิเคชัน Inviter ขึ้นมา หลังจากที่ได้ Insight จากจูนที่เกริ่นเรื่องการทำแอปแบบ Non-romantic จึงเป็นผู้เสนอไอเดียนี้กับทีม และพัฒนาแอปให้ใช้ง่าย ไม่ค้าง ฟีเจอร์เด่น
ในขณะที่บิ๊ว ผู้ดูกลยุทธ์ หรือวางแผนธุรกิจ จะวางแผนการตลาดทำให้แอปเป็นที่รู้จัก มี User เยอะ ๆ ซึ่งคิดเห็นขัดแย้งกับบอม เพราะมองว่าแอปแบบ Non-romantic ไม่แมสพอให้แอปแจ้งเกิดได้ ภายหลังจึงเปลี่ยนคอนเซ็ปต์แอปให้เข้าถึงคนได้มากขึ้นจนถึงฝั่งฝันในที่สุด นอกจากนี้ บิ๊วยังทำ Focus Group (สนทนากลุ่ม) เก็บข้อมูลเชิงลึกว่า User ชอบ/ไม่ชอบแอปตรงไหนเพื่อให้ Developer กับ Designer พัฒนาต่อถูก
คนสุดท้ายที่ขาดไม่ได้ในการทำแอปคือ Designer หรือไต๋ ที่ออกแบบ UI / UX ให้แจ่ม ๆ มีรูปแบบไม่ซับซ้อน กลุ่มเป้าหมายเห็นแล้วต้องว้าว ใช้แล้วต้องโดนใจ

3. พัฒนาสู่ตลาด
จากไอเดีย พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ หรือแอปพลิเคชัน ในรูปแบบ Lean Startup แนวคิดลดทอนขั้นตอนที่ไม่จำเป็นออก เหลือแต่คุณค่าให้ผู้ใช้งานแอปแบบเน้นๆ มีอยู่ 3 ขั้น เริ่มที่ Build แต่ไม่จบที่ Learn เพราะต้องวนลูปนี้เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันให้ตอบโจทย์ความต้องการผู้ใช้มากขึ้น
1. Build สร้าง Prototype (ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ) เน้นเร็ว ง่าย ประหยัดต้นทุนไว้ก่อน สร้างจุดแข็งด้วยการใช้นวัตกรรมหรือเทคโนโลยี แล้วค่อยส่งให้กลุ่มเป้าหมายลองใช้ เพื่อทดสอบว่าแอปจะปังได้มั้ย
2. Measure วัดผลว่าคนชอบ ไม่ชอบ เป็นไปตามตัวชี้วัดที่กำหนดมั้ย
3. Learn เรียนรู้จากผลที่วิเคราะห์ได้ แล้วพัฒนาต่อไป จนผลิตภัณฑ์เริ่มติดตลาด
ทีนี้ก็ถึงเวลาทำการตลาดโดยการลงโฆษณาทางเฟซบุ๊ก ทำ SEO ออกบูธตามอีเวนต์ เพิ่มจำนวน User เกิดการใช้ซ้ำยิ่งดี แต่ถ้าแอปที่โหลดมามันค้าง ใครจะเก็บไว้ให้เปลืองเมม กลับกัน ถ้าแอปโดนใจใช่เลย คนก็อยากซื้อบริการเสริม เริ่มแนะนำคนอื่นแบบปากต่อปาก หรือผ่านทางโซเชียล ก็เกิด viral ได้ไม่ยาก

4. ออกล่าหาทุน
ธุรกิจไม่สะดุด ไอเดียได้ไปต่อ ถ้าเรามีเงิน จะใช้ทุนตัวเอง (Bootstrapping) ร่วมโครงการบ่มเพาะ (Incubator) หรือ โครงการเร่งการเติบโต (Accelerator) ระดมทุนจากสาธารณะ (Crowdfunding) ได้รับการสนับสนุนจากนักลงทุนอิสระ (Angel investors) หรือลงเวทีแข่งขันเสนอผลงาน (Pitching) เพื่อชิงทุนจากนักลงทุนขององค์กร (Corporate Venture Capital) เหมือนที่ Inviter กับ Amjoin ล่าทุนจากแทนไท นายทุนสุดฮ็อตในเรื่อง App War

เป้าหมายของเหล่า Startup รวมทั้ง Inviter และ Amjoin ก็คือการได้เป็นยูนิคอร์น ซึ่งไม่ใช่สัตว์ในตำนานปรัมปรา แต่หมายถึงสตาร์ทอัพที่มีมูลค่าบริษัทมากกว่า 1 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ถึงตอนนี้สตาร์ทอัพไทยเรายังไม่ถึงระดับนั้น แต่ก็น่าจับตามองเอาใจช่วยให้ก้าวสู่ยูนิคอร์นได้สำเร็จ

6. Start ให้ Up ชื่อนี้…มีที่มา
การจะไปถึงยูนิคอร์นต้องเริ่มจากการ Start ให้ Up เริ่มแล้วต้องเดินหน้าต่ออย่างแน่วแน่ ซึ่งเพจ Start ให้ Up จะมาเติมเต็มแรงบันดาลใจให้สตาร์ทอัพไทยเดินเกมธุรกิจจนสามารถแจ้งเกิด ต่อยอด และยั่งยืนได้สำเร็จ เพราะเราอยากเห็นสตาร์ทอัพไทยไปไกลถึงยูนิคอร์น