ความน่ากลัวของ Covid-19 คือการระบาดอย่างรวดเร็ว แถมยังแพร่กระจายไปแล้วครึ่งโลก ในขณะที่การรับมือของไทยเรายังไปไม่ถึงมาตรฐานที่ควร ทั้งหน้ากากอนามัยที่ขาดตลาด และความรับผิดชอบที่หายไปของนักเดินทางที่เพิ่งเดินทางกลับมาจากประเทศเสี่ยง เหล่านักวิชาการก็ออกมาวิเคราะห์ถึงความเสี่ยงต่อสถานการณ์เฟส 3 ที่กำลังจะมาถึง …ว่าแต่ เฟส 3 ที่ว่านี่มันเป็นอย่างไรกันนะ?!
บอกก่อนว่าข้อมูลทั้งหมดในคอนเทนต์นี้ อ้างอิงมาจากเนื้อหาเหล่านี้ เพื่อน ๆ ที่สนใจสามารถตามไปอ่านข้อมูลเต็ม ๆ ได้ที่ลิงก์เหล่านี้เลยจ้า
คลิปอธิบายเรื่อง 3 ระยะการระบาดของโรคโควิด-19 จาก The Standard
https://www.facebook.com/thestandardth/videos/3214352225261250/?v=321435222526125
บทความเรื่อง “ระยะ 3” ของการแพร่ระบาดไวรัส “โควิด-19” เป็นอย่างไร จากประชาชาติธุรกิจ
https://www.prachachat.net/general/news-427442
บทความคาดการณ์สถานการณ์การระบาด จาก Thumbs up
https://www.thumbsup.in.th/business-plan-for-covid
แต่ถ้าใครไม่ค่อยมีเวลา อยากได้สรุปสั้น ๆ ง่าย ๆ ก็เลื่อนลงมาอ่านด้านล่างได้เลย!
Covid-19 เฟส 3 คืออะไร?
ต้องเล่าก่อนว่า โดยปกติเมื่อมีโรคระบาดเกิดขึ้น เราจะสามารถแบ่งระยะการระบาดออกเป็น 3 เฟสด้วยกัน ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
A = ผู้ติดเชื้อที่เดินทางมาจากต่างประเทศ
B = กลุ่มคนที่ไม่เคยเดินทางไปประเทศในกลุ่มเสี่ยง แต่ติดเชื้อจากกลุ่ม A
C = กลุ่มคนที่ไม่เคยเดินทางไปประเทศในกลุ่มเสี่ยง แต่ติดเชื้อจากกลุ่ม B
Phase 1 : มีผู้ติดเชื้อ (กลุ่ม A) แต่เป็นผู้ที่ติดเชื้อที่เดินทางมาจากต่างประเทศ และยังไม่มีการแพร่ระบาดในไทย
Phase 2 : เริ่มมีคนในประเทศติดเชื้อจากคนที่เดินทางมาจากต่างประเทศ (กลุ่ม B) แต่ยังไม่พบการแพร่ระบาดของเชื้อจากคนกลุ่ม B ไปสู่คนในประเทศคนอื่น ๆ เป็นระยะที่เรายังรู้ว่าคน ๆ นี้ติดเชื้อจากใคร เพราะมีเคสไม่มาก
Phase 3 : มีการระบาดของเชื้อเพิ่มอย่างรวดเร็ว ไม่สามารถตรวจสอบได้แล้วว่าใครติดจากใคร คนในประเทศหลายคนติดเชื้อจากคนกลุ่ม B และแพร่กระจายเชื้อต่อกันไปเรื่อย ๆ เกิดคนกลุ่ม C ขึ้นจำนวนมากในไทย
ปัจจุบัน สถานการณ์การระบาดของ Covid-19 ในไทย ยังอยู่ในระยะที่ 2 อยู่ แต่คาดว่าจะเข้าสู่ระยะที่ 3 ในอีกไม่ช้า เพราะโดยปกติแล้ว เมื่อเกิดโรคระบาด อย่างไรก็ต้องเข้าสู่เฟส 3 เพียงแต่รัฐจะพยายามชะลอให้เข้าสู่เฟส 3 ให้ช้าที่สุดนั่นเอง
การแพร่ระบาดของ Covid-19 จะกินเวลานานแค่ไหน?
McKinsey & Company บริษัทที่ปรึกษาด้านการบริหารชั้นนำของโลก ได้เขียนบทความคาดการณ์ถึงสถานการณ์การระบาดของ Covid-19 ไว้ 3 กรณี ดังนี้
1. กรณีที่มีการฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว
มีนาคม
– เศรษฐกิจจีนจะฟื้นตัวกลับมาได้ 80%
– สถานการณ์ในเอเชียตะวันออกและยุโรปจะควบคุมโรคได้
เมษายน
– สถานการณ์ในตะวันออกกลางเริ่มดีขึ้น ผู้ป่วยลดลง
มิถุนายน
– สถานการณ์คลี่คลาย การบินและการท่องเที่ยวกลับสู่สภาวะปกติ ยกเลิกการแบนนักท่องเที่ยว
2. กรณีเกิดการชะลอตัวทั่วโลก
มีนาคม
– เศรษฐกิจจีนจะฟื้นตัวกลับมาได้ 80%
เมษายน
– จำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อาจจะเริ่มลดลงในช่วงเดือนนี้
สิงหาคม
– สถานการณ์คลี่คลาย การบินและการท่องเที่ยวกลับสู่สภาวะปกติ ยกเลิกการแบนนักท่องเที่ยว
3. กรณีเกิดการระบาด และวิกฤตทั่วโลก
มีนาคม
– เศรษฐกิจจีนจะฟื้นตัวกลับมาได้ 80%
พฤษภาคม
– เกิดการระบาดไปทั่วโลก พบผู้ป่วยรายใหม่ในพื้นที่อเมริกาเหนือ แอฟริกา และอินเดีย
– เอเชียตะวันออก ตะวันออกกลาง ยุโรป และอเมริกาตะวันตก จะมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และจะค่อย ๆ ลดลงในช่วงกลางไตรมาสที่ 2
พฤศจิกายน
– สถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น สายการบินยังคงจำกัดการยินจนถึงปลายปี 2020
จากทั้ง 3 กรณีนี้ จึงสรุปได้ว่า หากทั่วโลกสามารถรับมือและควบคุมการระบาดได้ดี ช่วงกลางปีนี้ สถานการณ์อาจจะกลับคืนสู่ปกติ แต่ถ้าสถานการณ์เข้าขั้นเลวร้าย เราอาจจะต้องสู้กับเจ้า Covid-19 กันไปยาว ๆ จนจบปี 2020 นี้เลย!
ถ้าสถานการณ์บานปลายเข้าขั้นเลวร้าย การกักตุนของคือทางออกหรือไม่?!
คำตอบคือ ไม่! อย่างแน่นอน นอกจากการกักตุนของจะทำให้สถานการณ์เลวร้ายขึ้นแล้ว ยังไม่มีความจำเป็นใด ๆ เลยด้วย เพราะเป็นที่แน่นอนว่าประเทศไทยเราค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ ร้านอาหาร ร้านค้าต่าง ๆ ก็ยังคงเปิดเหมือนเดิม มีบริการเดลิเวอรี่ส่งถึงที่ได้
ถ้าไม่ได้มีแพลนจะอยู่บ้านยาว ๆ ไม่ออกไปเจอใครก็ไม่จำเป็นต้องกักตุนเลยจ้า เดี๋ยวใช้ไม่ทันขึ้นมา เสียดายแย่เลย (ขาดเหลืออะไร สั่งให้มาส่งที่บ้านก็ยังไหว) เก็บเงินไว้ ซื้อแค่ที่จำเป็น เพราะอย่าลืมว่า นอกจาก Covid-19 แล้ว สถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศเราก็น่าห่วงไม่น้อย ถ้าไม่จำเป็น ก็ตัดทิ้งไปเลย!